เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ" รวมความว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความ
หมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น
คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งวาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง
อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะ
มิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่
ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม
หมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็น
ผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ไม่กล่าว
ความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิตรัส
เรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด
ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในทิฏฐิมาก ด้วยทิฏฐิมาก รวมความว่า พวกเดียรถีย์
ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น อธิบายว่า ธรรม
ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน
มรรคก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกเดียรถีย์กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน
กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนว
ทางของตนนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า
มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :358 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 12. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[128] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้
เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว
คำว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่า
แนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรค
ก็ชื่อว่าแนวทางของตน เจ้าลัทธิ กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน
กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทาง
ของตน
คำว่า ในเพราะทิฏฐินี้ ในคำว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐิ
นี้ อธิบายว่า พึงใส่ไฟ คือ เห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น
โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
รวมความว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้
คำว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจง อย่างนี้ว่า ผู้อื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา คือ มีความไม่สะอาดเป็นธรรมดา มีความไม่
บริสุทธิ์เป็นธรรมดา มีความไม่ผ่องแผ้วเป็นธรรมดา พึงนำ คือ นำมาพร้อม ถือมา
ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง
การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้ายมาเองทีเดียว รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าว
ถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเอง
ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :359 }